อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

อาณาเขตอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมในยุคสำริด (ประมาณ 2500 – 1900 ก่อนคริสตกาล) ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่ายุคฮารัปปัน วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่มจาก

1. เมืองอัมรี (Amri) บริเวณปากแม่น้ำสินธุ อายุ 4,000 B.C. พบเครื่องปั้นดินเผาระบายสี คล้ายของเมโสโปเตเมีย

2. เมืองฮารับปา และโมเหนโจ –ดาโร อายุ 2,600 – 1,900 B.C.

3. เมืองชุคาร์ และจันหุดาโร อายุ 1,000 – 500 B.C.

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ มีเมืองสำคัญที่ได้รับการขุดค้นแล้ว 2 แห่ง คือ เมืองฮารับปา และโมเหนโจ – ดาโร ทั้งสองเมืองมีอารยธรรมที่เหมือนกันทุกประการ แม้ห่างกัน 350 ไมล์(600 กิโลเมตร) จัดเป็นสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ อินเดีย เพราะพบจารึกจำนวนมาก แต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุถูกโจมตีอย่างรุนแรง พบโครงกระดูกถูกฆ่าตายจำนวนมาก หรืออาจล่มสลายเพราะภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วม หรือโรคระบาด หรือเพราะความมั่งคั่ง

ชาวอารยันผู้รุกราน ค่อยๆแพร่จากภาคเหนือไปทางตะวันออก และลงไปทางใต้อย่างช้าๆ ลงไปยังดินแดนคาบสมุทรเดคข่าน (ซึ่งยังเป็นวัฒนธรรมหินใหม่อยู่) นำเอาทองแดง และเหล็กไปเผยแพร่ ทางใต้จึงเปลี่ยนจากหินใหม่เป็นโลหะทันที

เมื่ออารยันตั้งหลักแหล่งในประเทศอินเดียแล้ว จึงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์อินเดียอย่างแท้จริง

ลักษณะสำคัญของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

ซากเมืองโมเฮนโจดาโร

ประติมากรรมอารยธรรมสินธุ คือ ความเป็นแบบเดียวกัน (Uniformity) และ เป็นอนุรักษ์นิยม(Conservation)

 การวางผังเมือง (City Planning) แผนผังมีระเบียบ งดงาม มีถนนตัดกัน แบ่งเมืองเป็นตารางแยกพื้นที่ใช้สอยออกจากกัน เช่นที่อยู่อาศัย อาคารสาธารณะ ที่อยู่ช่างฝีมือ ยุ้งข้าว ป่าช้า ท่าเรือ พื้นที่ทางศาสนา? แสดงถึงความรู้ด้านวิศวกรรมการสำรวจและเรขาคณิตอย่างดี

 มีถนน และซอยตัดกันเป็นมุมฉาก บ้านอยู่ 2 ฟาก ถนนมีเสาตะเกียงเป็นระยะๆ

 การสุขาภิบาล มีประสิทธิภาพมาก ทุกบ้านมีห้องน้ำ มีท่อระบายน้ำเสีย-น้ำดี พบอ่างอาบน้ำใหญ่ เจริญกว่าอารยธรรมอื่นจนสมัยโรมันจึงมีห้องน้ำดีๆเทียบได้

 มีการสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการเพื่อกันผู้รุกราน มีอาวุธ กระสุนดินเผา

 การค้าและการขนส่ง ติดต่อเอเชียกลาง อัฟกานิสถาน เปอร์เซีย อินเดียตอนใต้ เพื่อนำวัตถุดิบมาผลิตเครื่องใช้เครื่องประดับ พบภาพเรือบนดวงตรา ลักษณะเรือคล้ายอียิปต์ พบอูฐ พาหนะเทียมเกวียนเทียมวัว มี 2 ล้อ 4 ล้อ พบลูกตุ้มน้ำหนัก

 การเพาะปลูก ทานข้าวสาลีเป็นอาหารหลัก

 เลี้ยงสัตว์ สุนัข วัว ควาย หมู แกะ ปลา ไก่ ลา ช้าง แมว

 ที่อยู่อาศัย ลักษณะอาคารแบบเดียวกันหมด หลังคาแบนราบ มีบ้านใหญ่ บ้านเล็ก ชั้นเดียวและหลายชั้น มีห้องเดียวถึงหลายห้อง สร้างแบบเรียบๆไม่มีการประดับประดา อาคารทำด้วยอิฐเผาไฟ อิฐขนาดเดียวกันทั้งหมด

 การแต่งกาย ใช้ผ้าฝ้าย และหนังสัตว์ ชาย/หญิง แต่งกายด้วยผ้า 2 ชิ้น ล่างเป็นผ้านุ่งแบบโธติ มีเชือกคาดเอว ท่อนบนเปิดไหล่ขวา มีเครื่องประดับผม และเครื่องประดับอื่นๆ เช่นสร้อย กำไล หวี แหวน เข็มขัด ตุ้มหู ผู้ชายไว้ผมยาว มีสายคาดศีรษะ ผู้หญิงมีทรงผมหลายแบบ

 ศิลปกรรม ไม่พบศิลปกรรมชิ้นใหญ่เลย เช่น รูปแกะสลักจากหินรูปชายมีเครา(อาจเป็นนักบวช) สูง 7 นิ้ว ที่เมืองโมเหนโจ -ดาโร รูปหญิงสาวในท่าร่ายรำ ทำด้วยสำริด หน้าตาพื้นเมือง รูปสลักหินผู้ชายคล้ายศิลปะกรีกโบราณ รูปปั้นดินเผาชาย/หญิง รูปปั้นสัตว์ เช่น วัวตัวผู้ ควาย สุนัข แกะ ช้าง แรด หมู ลิง เต่า นก พบเกวียนมีล้อ เกวียนเทียมวัว เป็นของเด็กเล่น พบภาชนะดินเผา ภาชนะโลหะ

 พบนกหวีด พบลูกเต๋า พบของเขย่าเด็กเล่น พบช้อนดินเผา

 โดยเฉพาะตราประทับ พบมากกว่า 2,000 อัน สลักจากหิน บนตรามีตัวอักษรและมีภาพสัตว์ต่างๆ ภาพสัตว์ผสมหมีกึ่งคน สัตว์ในจินตนาการ 3-6 หัว ภาพคนใต้ต้นไม้มีสัตว์ล้อมรอบ อาจเป็นต้นเค้าพระศิวะต่อมา ภาพต้นโพธิ์ ภาพวัวหน้าแท่นบูชาหรือรางหญ้า ภาพผู้หญิงกับต้นไม้(ยักษิณี) ภาพเรือ ดวงตราสลักฝีมือประณีตมาก ถูกต้องตามลักษณะธรรมชาติ อาจเป็นดวงตราบริษัทการค้า หรือของพ่อค้าแต่ละคน หรือของคนสำคัญประจำตัว หรือเครื่องรางของขลัง

 ศาสนา ไม่พบโบสถ์วิหารใหญ่โต แต่ชาวสินธุคงนับถือเทพเจ้าหลายองค์ เช่น เทพีเจ้าแม่ เทพเจ้าผู้ชาย ศิวลึงค์ นับถือต้นไทร ต้นโพ ม้ามีเขา เทพมีงูจงอางแผ่แม่เบี้ยเหนือศีรษะ นับถือพระอาทิตย์ มีรูปสวัสดิกะ รูปวงล้อรถ

 การทำศพ มีการเผาศพ เก็บขี้เถ้าใส่โกศ หรือฝังศพพร้อมของใช้ และนำศพให้แร้งการกิน แล้วจึงเก็บกระดูกใส่โกศ สามเณร อานนท์ ธูปน้ำคำ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8

ใส่ความเห็น

ใส่ความเห็น